สถิติ
เปิดเมื่อ12/10/2011
อัพเดท24/12/2012
ผู้เข้าชม17062
แสดงหน้า26314
เมนู
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

ห้องเผาไหม้
ห้องเผาไหม้

      

 ห้องเผาไหม้ที่ดัดแปลงจากตัวบอยเลอร์                  ห้องเผาไหม้สำหรับโยนฟืน                                  เครื่องป้อนเชื้อเพลิง                                                    ห้องเผาไหม้ทรงA แบบรางเดี่ยว

   

ห้องเผาไหม้ทรงA แบบรางคู่                                 ห้องเผาไหม้สำหรับโยนฟืน   แบบสายพาน

 

อุปกรณ์การป้อนเชื้อเพลิง  (สำหรับการย้ายถ่านหินไปที่ตะกรับ)  จำเป็นต้องมีการปรับปรุงเพราะการเผาไหม้คาร์บอนจะเป็นไปอย่างช้า ๆ และถ่านหินจำเป็นต้องอยู่ในเตาเผาเป็นเวลานานเพื่อรอให้อากาศส่งมาถึง  และทำให้มีการเผาไหม้สมบูรณ์  ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงดังกล่าวมาระยะหนึ่งแต่ปัจจุบันก็ให้ความสนใจในการพัฒนาน้อยลงไป  แต่ก็ยังมีบางส่วนที่อยู่ระหว่างการทดสอบการใช้งานอยู่

          ถ่านหินที่มาจากบ่อถ่านหินหรอืเหมืองถ่านหินมีคุณสมบัติที่แตกต่างกันออกไปทำให้การเผาไหม้แตกต่างกัน  นอกจากนั้น ถ่านหินที่มาจากบ่อถ่านหินเดียวกันแต่เก็บเอาไว้เป็นระยะเวลานานก็จะแตกต่างจากถ่านหินที่ส่งเข้ามาใหม่ ๆ จะมีผลทำให้ต้องมีการปรับเปลี่ยนระบบเผาไหม้ในหม้อไอน้ำเป็นประจำ  เพื่อให้สามารถแปลงรูปถ่านหินให้เป็นพลังงานได้อย่างดีที่สุด  สำหรับหัวข้อต่อไปจะกล่าวถึงเฉพาะประเภทของอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิง (Stoker) ที่เหมาะกับหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิต 1.5 เมกกะวัตต์และมากกว่าเท่านั้น  ถ้าหม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตต่ำกว่านี้จะมีทางเลือกที่จำกัดมากขึ้น  หม้อไอน้ำแต่ละประเภทจะมีรูปแบบของอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงที่เป็นของหม้อไอน้ำประเภทนั้น ๆ การป้อนถ่านหินอาจจะป้อนจากด้านบนของส่วนบนสุดของเตา  หรือป้อนจากด้านล่างขึ้นไปก็ได้

          ระบบการป้อนเชื้อเพลิงพื้นฐานทั้ง 3 ระบบที่จะกล่าวถึงต่อไปนี้จะใช้กับหม้อไอน้ำที่มีขนาดใหญ่  โดย 2 ระบบแรก  จะเป็นระบบการป้อนเชื้อเพลิงแบบเก่า  ส่วนอีกระบบหนึ่งได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้น

อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบตะกรับลูกโซ่ (Chain Grate Stoker)

          อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบตะกรับลูกโซ่  มีการใช้กันอย่างกว้างขวางมาหลายปีแล้วกับหม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงทั้งภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ที่มีขนาดกลาง  ถึงแม้ว่าจะมีราคาแพง  มีค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการและการบำรุงรักษาสูงก็ตาม  เพื่อลดค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติการลง  ทางบริติชโคบ (British Coal)  และผู้ผลิตอุปกรณ์ได้ทำงานร่วมกันเพื่อจะพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติอย่างเต็มรูปแบบ  และใช้ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำที่ผ่านการอบรมเพียงเล็กน้อยหรือไม่ต้องผ่านการอบรมเลยก็ได้

          ถ่านหินจะถูกป้อนเข้าไปที่ส่วนปลายของสายพาน  ได้สายพานจะเคลื่อนที่ไปตามความยาวของห้องเผาไหม้หรือเตาเผา  ถ่านหินก็จะเผาไหม้ไปจนถึงปลายของสายพาน  สำหรับหน้าที่บางอย่างยังต้ออาศัยความชำนาญโดยเฉพาะอย่างิย่ง  การติดตั้งตะกรับ (Grate)  กระบังลม (Air Damper)  และชุดกั้น (Baffles)  เพื่อให้แน่ใจว่าการเผาไหม้สมบูรณ์และมีคาร์บอนที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์เหลือยู่ในขี้เถ้าน้อยที่สุด  และการถ่ายเทความร้อนในห้องเตาเผามีประสิทธิภาพมากที่สุด

          อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อชนิดและคุณภาพของถ่านหินคงที่  และถ่านหินจะต้องเป็นก้อนที่มีขนาดใหญ่พอที่จะไม่ถูกเผาไหม้หมดไปก่อนที่จะไปถึงส่วนปลายของตะกรับ  ยิ่งไปกว่านั้นเศษเล็กเศษน้อยหรือผงเล็ก ๆ อาจจะไปกั้นทางผ่านของอากาศในตะกรับ  จะทำให่อากาศที่ต้องใช้เผาไหม้ผ่านเข้าไปถึงถ่านหินได้ยากมากขึ้น  ตะกรับจะวางอยู่บนชั้นของขี้เถ้าที่อยูบนสุดเพื่อป้องกันตัวตะกรับเองจากอุณหภูมิที่สูงที่สุดของการเผาไหม้ถ่านหิน  ดังนั้นการใช้ถ่านหินที่มีปริมาณขี้เถ้าน้อยจะมีผลทำให้ตะกรับเกิดความเสียหายอย่างรวดเร็ว

อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบสปริงเกิล (Sprinkle Stoker)

          อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบสปริงเกิล  เป็นจุดกำเนิดของระบบป้อนเชื้อเพลิงซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาให้ทันสมัยขึ้นในปัจจุบัน  โดยหลักการก็คือ  การแผ่ถ่านหินใหม่ลงบนส่วนบนสุดของตะแกรงที่ถ่านหินเผาไหม้เรียบร้อยแล้ว  เมื่อแผ่ถ่านหินอย่างสม่ำเสมอแล้วก็จะเป็นการง่ายที่จะปฏิบัติการเผาไหม้ต่อไป  และมีชิ้นส่วนเครื่องจักรที่ต้องบำรุงรักษาน้อยกว่าอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบตะกรับลูกโซ่

          การผลิตอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงประเภทนี้มีขึ้นมาอย่างมากมายพร้อมกับระบบควบุคมที่คล้ายกัน  เพื่อให้สามารถใช้กับหม้อไอน้ำแบบที่ใช้แก๊สหรือน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงก็ได้  อัตราการ ป้อนเชื้อเพลิงและอากาศที่ใช้ในการเผาไหม้ก็จะถูกปรับเปลี่ยนให้ขนานไปกับอัตราส่วน Turn-Down 3 : 1 ซึ่งอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบตะกรับลูกโซ่ก็สามารถทำได้เช่นกัน  แต่แบบสปริงเกิลสามารถทำได้เร็วกว่ามาก

          อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงประเภทนี้ได้มีการใช้อย่างแพร่หลายในระยะเริ่มแรก  เพราะมีราคาถูกกว่าแบบตะกรับลูกโซ่เมื่อมีการเปรียบเทียบกัน  ข้อเสียที่สำคัญก็คือต้องกวาดขี้เถ้าออกด้วยคน  ได้มีความพยายามที่จะพัฒนาให้เป็นระบบอัตโนมัติ  แต่ก็จะทำให้อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงชนิดนี้มีราคาสูงขึ้น

          เช่นเดียวกับอุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบตะกรับลูกโซ่  การเลือกใช้อุปกรณ์ป้อนเชื้อเพลิงแบบใด  ก็ต้องคำนึงถึงขนาดของเชื้อเพลิงด้วย  อากาศที่ใช้ในการเผาไหม้แลบะการที่แก๊สไอเสียจะพัดเอาผลเล็ก ๆ ในถ่านหินผ่านเข้าไปในหม้อไอน้ำ  ซึ่งจะเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกัดกร่อนอย่างรุนแรงภายในหม้อไอน้ำและทำให้มีสะเก็ดหลุดไปจากปล่อง

การเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบด (Fluidised Bed Combustion)

          การเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดเป็นเทคโนโลยีการเผาไหม้ถ่านหินที่ทันสมัยที่สุด  เชื้อเพลิงที่ป้อนเข้าไปบนอากาศร้อนที่พ่นให้ทรายทนไฟเดือดพล่าน  ระบบนี้มีข้อดีหลัก ๆ อยู่ 2 ข้อ  ดังนี้

          -  ไม่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของเชื้อเพลิงมากนัก  และสามารถใช้ได้กับถ่านหินที่มีคุณภาพต่ำมากที่มีปริมาณขี้เถ้าสูง  หรือแม้แต่ของเหลือใช้ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจด้วย

          -  ใช้อุณหภูมิในการเผาไหม้ต่ำทำให้สามารถใช้วัตถุทนไฟและวัสดุในการสร้างถูกกว่า

          มีอุปกรณ์เพิ่มเติมบางอย่างเพื่อแยกขี้เถ้าออกจากทรายที่ใช้เป็นเบด  หมายความว่าระบบประเภทนี้ทำให้มีค่าใช้จ่ายเกือบจะเป็น 2 เท่า  ของหม้อไอน้ำแบบใช้ถ่านหินระบบเก่าเป็นเชื้อเพลิง  ทรายซิลิคอนและเซอร์คอนที่ใช้อยู่มีราคาแพงเกินกว่าที่จะหามาทดแทนได้  ยิ่งไปกว่านั้นการที่ทรายที่ใช้เป็นเบดมีขนาดเล็กลงและสุดท้ายจึงจะผ่านเข้าไปในหม้อไอน้ำ  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาการกีดกร่อนและจะทำให้หลุดออกจากปล่องไปได้

          ระบบการเผาไหม้แบบผลูอิดไดซ์เบดมีอยู่ด้วยกันหลายชนิดที่ได้มีการพัฒนาไปทั่วโลก  หลายชนิดออกแบบเป็นพิเศษเพื่อการเผาไหม้ที่ใช้ค่าความร้อนต่ำและ/หรือถ่านหินที่มีขี้เถ้าสูง  อย่างไรก็ตาม การนำเอาหลักการในการเผาไหม้นี้มาใช้  จึงทำให้เกิดความสนใจมากขึ้นในประเทศแถบยุโรปและประเทศกำลังพัฒนามากกว่าในสหราชอาณาจักร

          ส่วนใหญ่หม้อไอน้ำที่ใช้ในการปฏิบัติการกับการเผาไหม้ประเภทนี้  จะเป็นประเภทที่มีการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดที่ความดันบรรยากาศ (AFBC)  ดังที่แสดงให้เห็นในรูปที่ 39 เหตุผลดังกล่าวนี้  มีความต้องการไม่มากก็น้อยที่จะนำเอาการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดเข้าไปร่วมกับการใช้หม้อไอน้ำแบบถังท่อไฟ  ระบบเช่นนี้ก็จะคล้ายกับระบบที่มีการติดตั้งมากับหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ

          อย่างไรก็ตาม  การติดตั้งระบบในปัจจุบันจะเป็นประเภทของการเผาไหม้แบบฟลูอิดไดซ์เบดแบบใช้ความดันดังรูป 40 ที่แสดงภาพของระบบนี้ไว้  ซึ่งจะรวมการใช้แก๊สไอเสียที่ร้อนเพื่อเป็นแรงขับดันให้กังหันแก๊สไอน้ำที่ผลิตออกมาจากท่อที่พ่วงกัน 2 ท่อ  ท่อหนึ่งอยู่ในเบด  อีกท่ออยู่บนเบด  การเพิ่มหินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตพร้อมกับการป้อนถ่านหินด้วย  ก็จะเป็นการช่วยกำจัดกำมะถัน  ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการกัดกร่อนขึ้นที่กังหันแก๊สด้วย  โดยทั่วไปแล้วระบบประเภทนี้ที่เกิดขึ้นใหม่ ๆ สามารถนไปใช้ได้ในการผลิตที่มีขนาดใหญ่  ใช้ได้ทั้งการผลิตกระแสไฟฟ้าและการผลิตไอน้ำเพื่อที่จะทำให้ระบบมีประสิทธิภาพด้านพลังงานสูงที่สุด 

การเกิดมลภาวะ

          คงจำกันได้ในช่วงระหว่างทศวรรษ พ.ศ. 2493 (ค.ศ. 1950)  มลพิษที่ปล่อยออกมาจากปล่องไฟเป็นสาเหตุของการทำลายทั้งทรัพย์สินและสุขภาพของคน

          มีผลทำให้เกิดพระราชบัญญัติอากาศบริสุทธิ์ (Clean Air Act) ขึ้นในปีพ.ศ. 25499 (ค.ศ. 1956)  และต่อมาก็มีการยกร่างพระราชบัญญัติที่สำคัญมากในปีพ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)  พระราชบัญญัติเหล่านี้จะควบคุมพื้นที่ปล่อยควันและมลพิษออกมา  โดยยอมให้ปล่อยควันดำออกมาได้ในช่วงเวลาที่จำดเท่านั้นและจำกัดการปล่อยทรายและฝุ่นละอองออกมาด้วย  นอกจากนั้น  ยังมีการกำหนดระดับความเข้มข้นของสารประกอบกำมะถันในแก๊สไอเสียให้มีได้น้อยที่สุดเท่าที่จะมีได้เท่านั้น  บางพื้นที่ถูกกำหนดให้เป็นโซน 'ปลอดควัน' ซึ่งเป็นการบังคับให้ผู้ควบคุมหม้อไอน้ำใช้เชื้อเพลิงที่สะอาดด้วย

          สารประกอบกำมะถันที่เกิดจากการเผาไหม้ออกมาจากปล่องไปในท่ต่าง ๆ ก่อให้เกิดฝนกรดตามมา  นอกจากนั้นยังมีสารประกอบอื่น ๆ ที่เกิดขึ้นมาจากการเผาไหม้ก็เป็นสาเหตุทำให้เกิดปัญหาต่อสิ่งแวดล้อมของโลกเช่นเดียวกัน  และทำให้นำไปสู่การเน้นหนักด้านนโยบาย 'สีเขียว (Green)' ในหลายประเทศ

          สารประกอบสำคัญที่เกิดจากการเผาไหม้มีอยู่ด้วยกัน 3 ชนิด  ที่กำลังทำลายสิ่งแวดล้อมในบรรยากาศก็คือสารประกอบของซัลเฟอร์ออกไซด์ (SOx)  คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2)  และสารประกอบของไนโตรเจนออกไซด์ (NOx)

          ถึงแม้ว่ากระบวนการในการผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีกำมะถันต่ำจะทำกันมานานหลายปีแล้วก็ตาม  แต่ก็ยังมีราคาแพงอยู่  คือสูงถึง 50% ของต้นทุนของน้ำมันหนึ่งลิตร  และยังเหลือกากของกำมะถันที่ต้องกำจัดออกไปในรูปแบบที่ต้องไม่ก่อให้เกิดมลภาวะด้วย  อย่างไรก็ตามการใส่หินปูนแคลเซียมคาร์บอเนตให้เผาไหม้ไปพร้อมกับถ่านหิน  ก็จะสามารถดักกำมะถันที่ปล่อยออกมาจากเชื้อเพลิงได้ถึง 80% หรือมากกว่านั้น  สำหรับแก๊สธรรมชาติจะมีปริมาณกำมะถันอยู่น้อยมาก  อย่างไรก็ตามแก๊สที่ออกมาทั้งหมดจะเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็น

          โดยพื้นฐานทั่วไปจะมีอยู่ด้วยกัน 2 ระบบที่จะใช้กำจัดกำมะถันจากแก๊สไอเสีย  วิธีแรกคือกระบวนการแบบเปียก (Wet Scrubbing)  เป็นวิธีที่การกำจัดซัลเฟอร์ออกไซด์โดยใช้น้ำเป็นตัวจับ  และอีกวิธีคือวิธีแบบแห้ง  โดยการใช้หินปูนแคลเซียมคาร์บอนเนตจับซัลเฟอร์ออกไซด์  แต่ในกระบวนการแบบเปียกจะผลิตกรดออกมาซึ่งต้องทำการกำจัดโดยไม่ก่อให้เกิดมลภาวะ  แต่สำหรับวิธีแบบแห้งสารที่ใช้ดูดจับแก๊สพิษนี้ต้องต้องใช้เป็นจำนวนมากและต้องกำจัดสารเหล่านี้อย่างปลอดภัย

          การเผาไหม้เชื้อเพลิงแบบเก่าไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ได้  จำเป็นต้องกำจัดออกไปด้วยวิธีดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้นคือ  กระบวนการแบบเปียก  และกระบวนการแบบแห้ง  ในปัจจุบันจึงเน้นไปในเรื่องของการปรับปรุงการเผาไหม้โดยรวมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น  เพื่อที่จะใช้เชื้อเพลิงในการเผาไหม้ให้น้อยลงจะทำให้ลดการผลิตคาร์บอนไดออกไซด์ลง

          การออกแบบระบบเผาไหม้ที่ดีทำให้ควบคุมการผลิตไหโตรเจนออกไซด์ (NOx) ให้อยู่ในวงจำกัดได้  ปัญหาที่สำคัญที่สุดที่เกิดขึ้นก็คือ  เชื้อเพลิงที่นำมาใช้กับระบบเผาไหม้เหล่านี้ทำให้อุณหภูมิของเปลวไฟสูงที่สุด  เช่น  น้ำมันเชื้อเพลิงและน้ำมันที่ใช้ในความอบอุ่นในอาคาร  นอกจากนั้นได้มีการทำวิจัยมากมายเพื่อจะพัฒนาหัวเผาให้มีอากาศส่วนเกิน (Excess Air) ต่ำลง  จะทำให้ควบคุมการผลิตไนโตรเจนออกไซด์ได้ดีขึ้น

          พระราชบัญญัติป้องกันสิ่งแวดล้อม (Environment Protection Act) ปี พ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990)  ได้กำหนดนโยบายในอนาคตที่เกี่ยวข้องกับการปล่อยแก๊สหลายชนิดที่มีผลกระทบทำให้เกิดเรือนกระจก  โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะให้อีก 10 ปีข้างหน้า  แก๊สที่ปล่อยออกมาเหล่านี้ก็ยังมีระดับคงที่เท่ากับปีพ.ศ. 2533 (ค.ศ. 1990) เพราะคาดว่าความต้องการเชื้อเพลิงในอีก 10 ปีข้างหน้า  ต้องสูงกว่าถ้าเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีนี้เพราะการขยายตัวทางเศรษฐกิจสูงขึ้น  ซึ่งก็หมายความว่าระดับที่สูงที่สุดที่ยอมให้มีแก๊สเหล่านี้เกิดจากหม้อไอน้ำได้ต้องไม่มากกว่าที่มีอยู่ในปัจจุบัน  สิ่งนี้นำมาใช้ประโยชน์ได้ไม่เพียงแต่กับใช้กับการผลิตกระแสไฟฟ้าหรือหม้อไอน้ำที่ใช้ในภาคอุตสาหกรรมขนาดใหญ่แล้ว  ยังสามารถนำมาใช้กับหม้อไอน้ำทั้งหมดได้ด้วย

          ผู้ผลิตหม้อไอน้ำถูกบังคับให้นำเอามาตรฐานใหม่รวมเข้าไปในการออกแบบด้วย  อย่างไรก็ตามก็ยังไม่เป็นมาตรฐานสำหรับผู้ควบคุมหม้อไอน้ำที่ต้องซื้อหม้อไอน้ำที่ตรงกับมาตรฐานใหม่เท่านั้น  เพราะผู้ผลิตต้องแสดงให้เห็นด้วยว่า  จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในการนำเอามาตรฐานเหล่านั้นมาใช้กับการปฏิบัติการประจำวันได้

          เถ้าและทรายที่ออกมาจากหม้อไอน้ำที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงนั้นจะมีสารที่ไม่เป็นที่ต้องการ  เช่น  โลหะหนัก (Heavy Metal)  ซึ่งจะเป็นสารที่ก่อให้เกิดมลภาวะต่อสิ่งแวดล้อมเช่นเดียวกัน  ดังนั้นจำเป็นต้องมีการควบคุมในเรื่องการกำจัดและการทิ้งในอนาคตด้วย

          ในปัจจุบัน EEC และรัฐบาลสหราชอาณาจักร (British Government) ได้ออกกฎหมายโดยแบ่งหม้อไอน้ำออกเป็น 3 ประเภท  ดังนี้

          1.  หม้อไอน้ำที่มีการป้อนเข้าความร้อนในอัตราสุทธิต่ำกว่า 20 เมกกะวัตต์

          2.  หม้อไอน้ำที่มีการป้อนเข้าความร้อนในอัตราสุทธิระหว่าง 20 เมกกะวัตต์ ถึง 50 เมกกะวัตต์ และ

          3.  หม้อไอน้ำที่มีการป้อนเข้าความร้อนในอัตราสุทธิที่มากกว่า 50 เมกกะวัตต์

          การแบ่งแยกประเภทนี้เพื่อกำหนดให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบมีความรับผิดชอบต่อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะที่มีอยู่ในปัจจุบันและจะมีขึ้นในอนาคตด้วย

          หม้อไอน้ำที่มีขนาดเล็กที่สุด (น้อยกว่า 20 เมกกะวัตต์)  จะอยู่ภายใต้การควบคุมของพระราชบัญญัติอากาศบริสุทธิ์ปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956)  และปี พ.ศ. 2511 (ค.ศ. 1968)  และที่จะมีการเปลี่ยนแหลงอื่น ๆ ของพระราชบัญญัตินี้เท่านั้น  หม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตขนาดกลางโดยผลิตได้อยู่ในช่วง 20 MW ถึง 50 MW  จำเป็นต้องได้รับอนุญาตสำหรับการปฏิบัติการและได้รับการตรวจสอบจากผู้บริหารส่วนท้องถิ่น (Local Authoritis) หม้อไอน้ำที่มีกำลังผลิตเกินกว่า 50 เมกกะวัตต์  จะต้องพิจารณาเรื่องการควบคุมมลภาวะรวมเข้าไปด้วยโดยให้ครอบคลุมทุก ๆ ลักษณะของการทำงานและจะได้รับบริหารการดำเนินการได้โดยหน่วยงานตรวจสอบมลพิษในพระบรมราชินูปถัมภ์

          หม้อไอน้ำทุกขนาดที่กล่าวมาแล้วจำเป็นต้องนำเอา 'เทคนิคที่ดีที่สุดและไม่ก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น' (Best Available Techniques Not Entailing Exedssive Cost : BATNEEC) มาใช้ให้เป็นประโยชน์และปัจจุบันได้นำเอาหลักเกณฑ์นี้มาใช้ประโยชน์กับกระบวนการเผาไหม้ทั้งในภาคอุตสาหกรรมและเชิงพาณิชย์ทั้งหมด  ทำให้สามารถปรับปรุงมาตรฐานให้ดีขึ้น  โดยไม่ต้องกำหนดค่าปรับเป็นเงินจำนวนมาก