สถิติ
เปิดเมื่อ12/10/2011
อัพเดท24/12/2012
ผู้เข้าชม17062
แสดงหน้า26314
เมนู
ปฎิทิน
April 2024
Sun Mon Tue Wed Thu Fri Sat
 
1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
    




บทความ

การทำงานของหม้อไอน้ำ
การทำงานของหม้อไอน้ำ

บอยเลอร์ (Boiler) หรือ หม้อไอน้ำ หมายถึง เครื่องกำเนิดไอน้ำชนิดภาชนะปิด ทำด้วยเหล็กกล้าหรือวัสดุอื่นๆ ที่มีคุณสมบัติคล้ายกัน ซึ่งได้รับการออกแบบและสร้างอย่างแข็งแรงถูกต้องตามหลักเกณฑ์ทางวิศวกรรม ภายในภาชนะบรรจุน้ำและไอน้ำ

 การทำงานของหม้อไอน้ำ

หม้อไอน้ำจะได้รับความร้อนจากภายนอก หรือภายในก็ได้ จากนั้นจะส่งผ่านความร้อนต่อไปยังน้ำที่อยู่ภายในหม้อไอน้ำจนกระทั่งน้ำกลายเป็นไอส่วนใหญ่แล้วจะมีหน้าที่ในการสร้างไอน้ำเพื่อใช่ส่งผ่านความร้อนไปยังเครื่องจักร ทำให้ต้นทุนค่าพลังงานถูกลงกว่าการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องจักร

บอยเลอร์นั้น ปกติไม่ได้หมายถึง เครื่องกำเนิดไอน้ำเพียงอย่างเดียว แต่ยังหมายรวมถึง เครื่องกำเนิดน้ำร้อน (hot water boiler) และ เครื่องกำเนิดน้ำมันร้อน (Thermal oil heater) ซึ่งที่กำลังอธิบายอยุ่นี้จะหมายถึงการแบ่งชนิดของบอยเลอร์ตามตัวนำความร้อน

โดยปกติทั่วๆไป

Hot water boiler จะใช้งานช่วงอุณหภูมิไม่สูงมากนัก ไม่เกิน 120 องศาเซลเซียส ยกเว้นว่า เราจะใช้งานภายใต้ความดัน (under pressure)

steam boiler เป็นที่นิยมใช้งานบ่อย เพราะว่าไอน้ำ เป็นตัวนำความร้อนที่ดีที่สุดถ่ายเทได้เร็ว โดยทั่วไป แบ่งได้หลายแบบ เช่น แบ่งตามการออกแบบ (4 Pass-dry back),(3 Pass- dry back), (3- Pass wet back), (2- Pass, reversing flame), Once Through boiler

แบ่งตามลักษณะการการถ่ายเทความร้อน เช่น แบบท่อไฟ (fire tube boiler)พบเห็นทั่วไปตั้งแต่กำลังการผลิตได้ถึงขนาด 500 กก. - 50 ตัน/ชม. แบบท่อน้ำ(water tube boiler)จะพบเห็นในกรณีที่ไม่สามารถออกแบบเป็นแบบท่อไฟได้ พวกขนาด 100 -300 ตัน หรือแรงดัน 20 บาร์ขึ้นไป

ช่วงการใช้งานส่วนมากอุณหภูมิไม่เกิน 220 องศาเซลเซียส เพราะแรงดันจะสูงขึ้นมาก เมื่อเทียบกับอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น เปิดดู Steam table ประกอบความเข้าใจ

Thermal oil heaer จะใช้งานที่อุณหภูมิสูงกว่า Steam boiler โดยทั่วไปใช้ที่อุณหภูมิประมาณ 220 - 300 องศาเซลเซียส มีบางโรงงานใช้เกินกว่านั้น จะต้องออกแบบเครื่องแบบพิเศษให้สามารถรองรับได้ อาจใช้ได้ถึง 350 องศาเซลเซียส

การแบ่งประเภทของหม้อไอน้ำ

การออกแบบหม้อไอน้ำจึงมีอยู่หลายแบบตามความเหมาะสมของการนำไปใช้งาน ดังนี้

  1. แบ่งตามลักษณะการวางแนวแกนของเปลือกหม้อไอน้ำ
  2. แบ่งตามลักษณะการใช้งาน
  3. แบ่งตามตำแหน่งเตา
  4. แบ่งตามน้ำหรือแก๊สร้อนที่อยู่ในท่อ
  5. หม้อไอน้ำที่สร้างขึ้นมาพิเศษ